วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิเคราะห์ราคาทองคำ โดย คลาสสิกโกลด์ฯ CGF (26-11-14 | 09:27)

วิเคราะห์ราคาทองคำ โดย คลาสสิกโกลด์ฯ CGF (26-11-14 | 09:27)



Today Strategy: Gold ราคาทองคำแกว่ง side way แต่เริ่มมีสัญญาณ bearish divergence แนะนำ Trading ในกรอบ แต่ถ้าหลุด 1,180 ให้ follow short SET50 ปิดบวกได้แรง แต่ยังคงมุมมองการสร้างกรอบ sideway พักตัวเพื่อขึ้นต่อ จึงแนะนำ ปิดทำกำไรสถานะ long แล้วรอจังหวะ long อีกครั้งเมื่ออ่อนตัว

Key Factors
Gold ราคาทองคำในตลาด COMEX ปิดเพิ่มขึ้น 3.59 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,200.69 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองคำสามารถปรับขึ้นได้ในช่วงท้ายตลาดเมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง หลังจากการประกาศตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงมาที่ระดับ 88.7 จาก 94.5 ในเดือนก่อน ส่วนตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ออกมาที่3.9% สูงกว่าคาดทำให้ราคาทองคำในช่วงเปิดตลาดในนิวยอร์คปรับตัวลดลงแต่ปิดตลาดปรับบวกขึ้นได้ สำหรับในสัปดาห์นี้จะมีวันหยุด Thanksgiving day ในวันพฤหัส ในขณะที่นักลงทุนรอฟังผลการลงประชามติในสวิตเซอร์แลนด์ในวันอาทิตย์ที่ 30 พ.ย.นี้ โดยเป็นการลงประชามติเพื่อไม่ให้ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ระบายทองคำออก อีกทั้งจะบังคับให้ SNB ต้องถือครองทองคำสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 20% ภายใน 5 ปี จากที่ปัจจุบันถืออยู่ประมาณ 8% รวมถึงการประชุมกลุ่มโอเปกในวันพฤหัสบดีว่ากลุ่มโอเปกจะลดปริมาณการผลิตลงหรือไม่
ดัชนีดาวโจนส์ ปิดลบ 2.96 จุด แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนโดยตัวเลข GDP ที่ออกมาดีกว่าคาดช่วยหนุนดัชนีในช่วงแรก ตาตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงทำให้ดัชนีอ่อนตัวลงในช่วงท้ายตลาด
USD/THB ปิดที่ 32.77 บาทต่อUSD แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงและเงินเยนแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เมื่อ BOJ บ่งชี้ว่ามีอูปสรรคที่จะใช้ QE เพิ่มเติม
Oil ราคาน้ำมันดิบ Nymex ดิ่งลง 2.23% ปิดที่ 74.09 USDต่อบาร์เรล ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ในขณะที่การประชุมระหว่างซาอุดิอารเบีย รัสเซ๊ย เวเนซุเอลา และเม๊กซิโก ไม่ส่งผลให้มีบรรลุข้อตกลงให้ลดการผลิตน้ำมัน

Market Movement
Gold ราคาทองคำปิดที่ 1,200.69 USDต่อออนซ์ เคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 1,190.30 – 1,202.90 เช้าวันนี้ราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่บริเวณ 1,199 USDต่อออนซ์ คาดว่าจะมีแนวรับบริเวณ 1,190/1,180 แนวต้านบริเวณ 1,210/1,215
USD/THB ปิดที่ 32.77 บาทต่อUSD เช้านี้อยู่ที่บริเวณ 32.72 บาทต่อUSD วันนี้ให้แนวต้านบริเวณ 32.9/33.0 ให้แนวรับบริเวณ 32.7/32.5
ICE Brent ปิดที่ 78.17 USDต่อบาร์เรล วันนี้ให้แนวต้านบริเวณ 80.0/81.7 และให้แนวรับบริเวณ 77.6/76.0

Recommendations
ระยะสั้น : อยู่ในกรอบ 1,100 – 1,200 แนะนำ Trading Short
ระยะกลาง : อยู่ในกรอบ 1,000 –1,300 Trading Short
ระยะยาว : อยู่ในกรอบ 970 – 1,400 รอสะสม Long บริเวณ 970

Technical Commentary
ภาพกราฟทางเทคนิค ราคาทองคำราย 240 นาที แกว่ง side way ออกทางด้านข้าง โดยมีแนวต้านบริเวณเส้น MA 400 ใกล้ 1,210 และแนวรับบริเวณเส้น MA 100 ใกล้ 1,180 MACD และ RSI เริ่มส่งสัญญาณ bearish divergence หากยืนบริเวณ 1,190 ไม่ได้คาดว่าจะปรับตัวลดลง
Strategy : แนะนำ Trading ในกรอบแนวรับ แนวต้าน แต่ถ้าหลุด 1,180 ให้ follow short
ใกล้หมดสัญญา GFZ14 แล้ว ควรเปลี่ยนเป็น GFG15

Key Point
Positive View( + )
นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางทั่วโลก
ความต้องการทองคำในตลาด Physical
อินเดียเริ่มผ่อนคลายมาตรการนำเข้าทองคำ

Negative View( - )
Fed ยุติมาตรการ QE นักลงทุนกังวลว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น
ECB พร้อมใช้มาตรการ QE ซื้อพันธบัตร ABS
ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้น

ปัจจัยที่ต้องติดตาม
การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้

USD/THB
เงินบาทในกราฟรายวัน trading อยู่บริเวณแนวต้านที่ 32.9 ตราบใดที่ยังไม่ผ่านแนวต้านดังกล่าวยังแนะนำให้ trading ในกรอบ
ให้แนวต้านบริเวณ 32.9 / 33.0
ให้แนวรับบริเวณ 32.7 / 32.5
Strategy: trading ในกรอบ

Exclusive News
เศรษฐกิจโลก องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ(OECD) คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวปานกลางในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยจะขยายตัว 3.3% ในปีนี้ 3.7% ในปีหน้า และ 3.9% ในปี 2559 แต่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยระยะยาวที่ 4.0% และเตือนถึงความเสี่ยงสูงจากตลาดการเงินที่ผันผวนและการว่างงานในยูโรโซน ทั้งนี้ ในปีหน้าคาดว่า สหรัฐจะขยายตัวดีขึ้นเป็น 3.1% ขณะที่อังกฤษจะขยายตัว 2.7% แต่การหยุดนิ่งของยูโรโซน เนื่องจากหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง ภาวะสินเชื่อตึงตัว การว่างงานอยู่ในระดับสูง และเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่าเป้าหมาย กำลังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก จึงคาดว่า ยูโรโซนจะขยายตัว 0.8% ในปีนี้ 1.1% ในปีหน้า และ 1.7% ในปี 2559 ส่วนญี่ปุ่นคาดว่า จะขยายตัว 0.4% ในปีนี้ 0.8% ในปีหน้า และ 1.0% ในปี 2559 เนื่องจากการผ่อนคลายการเงินและตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่จีนจะชะลอตัวลงแตะ 7.3% ในปีนี้ และ 7.1% ในปีหน้า และเศรษฐกิจในอินเดีย อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้ จะฟื้นตัว แต่รัสเซียและบราซิลจะยังคงอ่อนแรง
เศรษฐกิจโลก ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจทั่วโลกปรับตัวลดลงในเดือน ต.ค.สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยการจ้างงานและการลงทุนของภาคธุรกิจต่างก็ปรับตัวลง ส่วนแนวโน้มกิจกรรมในอนาคตของภาคธุรกิจก็ทรุดหนักที่สุดในรอบ 5 ปี ด้านหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Markit กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลก เนื่องจากภาคธุรกิจเริ่มมีมุมมองที่เป็นลบจากปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งได้แก่ เศรษฐกิจโลกที่แย่ลง, การเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกรอบของยูโรโซน, แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศ และความเสี่ยงทางการเมืองในยุโรปไปจนถึงตะวันออกกลาง นอกจากนี้ มุมมองที่เป็นบวกของภาคธุรกิจในตลาดเกิดใหม่ของกลุ่ม BRIC ได้ปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี เช่นกัน
เศรษฐกิจสหรัฐ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ขยายตัว 3.9% ในช่วงไตรมาส 3 ซึ่งเป็นการปรับทบทวนขึ้นจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ 3.5% โดยมีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคส่วนบุคคลที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งถึง 2.2% ทั้งนี้ GDP ขยายตัว 4.6% ในไตรมาส 2 และหดตัว 2.1% ในไตรมาสแรก
เศรษฐกิจยุโรป ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) ของเยอรมนี ปรับตัวขึ้น 0.1% ในไตรมาส 3 สอดคล้องกับการประเมินเบื้องต้น หลังจากหดตัวลง 0.1% ในไตรมาส 2 และหากเทียบรายปี GDP ในไตรมาส 3 ขยายตัว 1.2% ไม่เปลี่ยนแปลงจากข้อมูลเบื้องต้น
เศรษฐกิจยุโรป องค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) คาดว่า กรีซจะเผชิญวิกฤติว่างงานนานถึง 20 ปี หลังจากได้รับผลกระทบจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจมานาน 6 ปีแล้ว ทำให้กำลังเผชิญกับวิกฤติทางสังคมจากปัญหาการว่างงานที่ยืดเยื้อ ซึ่งอาจจะกินเวลาถึง 20 ปี หากรัฐบาลไม่แก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ มีคนลงทะเบียนว่างงานในกรีซกว่า 1.2 ล้านคน หรือ 25.9% ของแรงงานทั้งหมด และแม้ว่ารัฐบาลกรีซเคยประกาศว่า จะหลุดจากภาวะถดถอยในปีนี้ แต่ ILO มองว่า กรีซอาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนานถึง 13 ปี
ตลาดน้ำมัน รัฐบาลรัสเซียมีแผนจะสร้างเสถียรภาพในตลาดน้ำมันโลกด้วยการเข้าควบคุมกำลังการผลิตไม่ให้เกิน 525 ล้านตันต่อปี โดยรัฐมนตรีพลังงานชี้ว่า สมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(OPEC) จำนวนหลายรายมีการขยายกำลังการผลิตเกินโควตาของตน และแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่กลุ่ม OPEC จะปรับลดกำลังผลิต ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังเผยว่า การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่ร่วงลง ได้สร้างความเสียหายแก่รัสเซียถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี